[3] เรียนพื้นฐาน JavaScript ตอน การกำหนดเงื่อนไข

ตรรกะ

ก่อนจะเริ่มเนื้อหา ต้องขอแนะนำสัญลักษณ์ของตรรกะกันก่อน

สัญลักษณ์ความหมายตัวอย่างผลลัพธ์
> มากกว่า 9 > 0 true
< น้อยกว่า 0 < -5 false
>= มากกว่าหรือเท่ากับ 5 >= 2 true
<= น้อยกว่าหรือเท่ากับ 10 <= 10 true
===เท่ากับ “5” == 5 true
!== ไม่เท่ากับ “5” != 5 false
&& และ true && false false
|| หรือ true || false true
! ตรงกันข้าม !true false

&& และ

ABA && B
TRUETRUETRUE
TRUEFALSEFALSE
FALSETRUEFALSE
FALSEFALSEFALSE

|| หรือ

ABA || B
TRUETRUETRUE
TRUEFALSETRUE
FALSETRUETRUE
FALSEFALSEFALSE

If / Else / Else if

การกำหนดเงื่อนไขแบบ if / else จะเป็นรูปแบบ ถ้าเป็นแบบนี้…ทำอย่างนี้นะ ไม่งั้นก็ทำอย่างนี้แทนนะ… เหมือนฝากเพื่อนซื้อก๋วยเตี๋ยว ถ้ามีเส้นเล็กสั่งเลย ถ้าไม่มีงั้นสั่งเส้นใหญ่ ถ้าไม่มีอีกงั้นสั่งบะหมี่ ถ้าไม่มีอีกก็ไม่กิน! 555 ประมาณนี้

  • if ถ้า…
  • else ไม่งั้นก็…
  • else ถ้าไม่งั้นก็…
if (condition) {
  // run this code
} else {
  // run this code
}

//ลองดูโครงสร้างแบบภาษไทย
ถ้า (เงื่อนไขตรงนี้เป็นจริง) {
ให้รันโค้ดนี้
}
ไม่อย่างงั้นก็ {
รันโค้ดนี้แทน ถ้าข้างบนไม่จริง
}

ลองมาดูตัวอย่างการใช้งานจริงของ if/else เลยดีกว่า

if (2 > 0){
   console.log("Awesome!");
}
else {
   console.log("Nooooooooooo!");
}

//คืนค่า Awesome! ออกมา เพราะ 2 > 0 เป็น true

ตัวอย่างที่ซับซ้อนขึ้น

var color = "blue"; 

if (color === "Black"){
   console.log("Black is cool!");
}
else if (color === "pink"){
   console.log("Pink is great!");
}

else {
   console.log("I love blue!!");
}
//ปริ้น I love blue!! ออกมา

เขียน if/else ให้สั้นลงด้วย Ternary operator