[2] เรียนพื้นฐาน JavaScript ตอน ตัวแปรและชนิดข้อมูล

Number

ตัวเลขในภาษา JavaScript ไม่ซับซ้อนอะไรเลย

10
//คืนค่า 10 ออกมา

5 + 3
//คืนค่า 7 ออกมา

10.5 - 0.5
//คืนค่า 10 ออกมา

10 * 5
//คืนค่า 15 ออกมา

String

String หรือ สายอัขระ ก็คือข้อความนั่นเอง หน้าตาของ String ก็จะเป็นข้อความที่มี ‘ หรือ ” ครอบไว้

"Hello"
"My name is Khwaan"
'Welcome'

สตริงสามารถนำมาต่อกันได้ เรียกว่า การต่อ String หรือ String concatenation ด้วยการใช้ + มาเชื่อม

"Hello" + "Khwaan" //คืนค่า HelloKhwaan
"Hello " + "Khwaan" //คืนค่า Hello Khwaan
"Hello " + 10 + 5 //คืนค่า Hello 105
"Hello " + (10 + 5) //คืนค่า Hello 15
"Hello " + 10 * 5 //คืนค่า Hello 50

 

Variable

Variable หรือ ตัวแปร เอาไว้เก็บค่า หรือข้อมูลต่างๆ ให้เราเรียกใช้ซ้ำๆได้หลายครั้ง

  • Var สำหรับประกาศตัวแปรในระดับ function หรือ global scope. ประกาศทีเดียวใช้ได้ทั่ว
  • Let สำหรับประกาศตัวแปรในระดับ block scope
  • Const สำหรับประกาศตัวแปรที่เป็น “ค่าคงที่” ในระดับ block scope ประกาศแล้วแก้ไม่ได้
var x; //ประกาศตัวแปร x ขึ้นมา

var x = 10; //กำหนดให้ตัวแปร x มีค่า = 10

var x = "Khwaan" //กำหนดให้ตัวแปร x มีค่าเป็น String (ข้อความ) "Khwan"

ตัวอย่างการเรียกใช้ตัวแปร

//ประกาศตัวแปร x ให้เก็บค่า "Khwan" เอาไว้
var x = "Khwaan"; 

//ลองเรียกใช้ตัวแปร x
"Hello " + x;

//ผลที่ได้
Hello Khwaan

//--------------------------------------
//ลองเรียกใช้ตัวแปร x
"Hey " + x;

//ผลที่ได้
Hey Khwan

 

Comment

เราสามารถเขียนคอมเมนต์ ลงไปในโค้ดได้ โดยมันจะไม่มีผลอะไรกับโค้ดของเราทั้งสิ้น เอาไว้อธิบายโค้ด ใส่ชื่อ หรืออะไรก็แล้วแต่ที่เราต้องการ Comment จะมี 2 แบบคือ

1.คอมเมนต์บรรทัดเดียว ใช้ // ข้างหน้าคอมเมนต์

2.คอมเมนต์หลายบรรทัด ใช้ /* ข้างหน้าคอมเมนต์ และปิดท้ายด้วย */

//คอมเมนต์บรรทัดเดียว


/*
คอมเมนต์หลายบรรทัด
เขียนได้หลายบรรทัด
*/

 

Boonlean

ค่า true/false สั้นๆง่ายๆแค่นี้เลย

"10" == 10 // คืนค่า true
"10" != 10 // คืนค่า false

1 == true // คืนค่า true
0 == false // คืนค่า true
"Hello" == "hello" // คืนค่า false, เพราะ H มีค่าไม่เท่ากับ h


//การใช้ Strict equality อย่าง === และ !==

1 === true // คืนค่า false
0 === false // คืนค่า false

"10" === 10 // คืนค่า false
10 === 10 // คืนค่า true
1 === true // คืนค่า false 
0 === false // คืนค่า false

 

NaN, Null, Undefined

NaN ย่อมาจาก Not a Number จะโผล่มาตอนที่เราคำนวณอะไรแปลกๆ

Null คือ ค่าว่างเปล่า ที่เรากำหนด

Undefined คือ ไม่มีค่า เพราะเราไม่ได้กำหนดค่า

มันจะเกิดความงงขึ้นระหว่าง Null กับ Undifined เรามาดูตัวอย่างเลยดีกว่า

//Null
var x = null;

//Undifined
var x;
console.log(x);

//Undifined
var x = "";
console.log(x);

 

ที่มา : บทความนี้ร่วมกับ khwaan.com